- ความปลอดภัยทั่วไปในห้องปฏิบัติการ
ความปลอดภัยของบุคลากร
1. มีการตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่ก่อนรับเข้าทำงาน และจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
2. ก่อนการปฏิบัติงานต้องได้รับความรู้เบื้องต้นด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
3. จัดการอบรมให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีทักษะและความชำนาญในการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย มีการป้องกันอุบัติเหตุเป็นอย่างดี
4. เสริมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคที่สามารถติดต่อได้ทางเลือด และสารน้ำจากร่างกาย ให้แก่บุคลากรทุกระดับ เพื่อให้เกิดแนวคิดในทางเดียวกัน ทำให้เกิดความมั่นใจและสามารถประสานงานในทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. บุคลากรทุกระดับ ต้องทราบวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอย่างถูกต้องเหมาะสม
6. บุคลากรทุกระดับที่ปฏิบัติงานควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
7.
อุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
1. ระบบระบายอากาศ (Ventilation)
ห้องปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมีควรมีการระบายอากาศที่ดี การระบายอากาศในห้องปฏิบัติการ โดยทั่วไปไม่ควรน้อยกว่า 6 เท่าของขนาดห้อง ต่อชั่วโมง
2. ตู้ดูดควัน (Fume hood)
การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย ต้องทำในตู้ดูดควันเท่านั้น ตู้ดูดควัน ต้องสามารถดูดอากาศได้ไม่น้อยกว่า 80-120 ฟุต /นาที เมื่อฝาตู้ (Sash) เปิดที่ระดับ 18 นิ้ว
3. ตู้เก็บสารละลายไวไฟ (Flammable liquid storage)
4. อ่างล้างตา และที่ล้างตัวฉุกเฉิน
(Emergency eyewash fountain and safety shower)
อ่างล้างตา และที่ล้างตัวฉุกเฉินเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับทุกห้องปฏิบัติการ ใช้ในกรณีเกิดอุบัติเหตุสารเคมีอันตรายหกราดตัว หรือกระเด็นเข้าตา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หรือ ทุพลภาพต่อผู้ปฏิบัติงานได้
5. อ่างล้างอุปกรณ์ (Laboratory sink)
ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ต้องล้างมือ ด้วยสบู่ และน้ำสะอาดทุกครั้งภายหลังจากการถอดถุงมือ และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน รวมทั้งเมื่อผิวหนังสัมผัสกับสารเคมี อ่างล้างมือยังใช้ในการล้างอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการที่เปื้อนสารเคมีอีกด้วย
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในห้องปฏิบัติการ (Personal protective equipment)
1. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับลูกตา (Eye protection
2. เสื้อคลุมปฏิบัติการ (Laboratory coat)
เสื้อคลุมปฏิบัติการใช้สวมทับชุดปกติระหว่างปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน จากฝุ่น ผง ตลอดจนการหก กระเซ็นของสารเคมี
3. รองเท้า
ควรสวมรองเท้าตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ รองเท้าที่ใช้สวมใส่ในห้องปฏิบัติการ ควรเป็นรองเท้าที่ปกปิดนิ้วเท้า อย่างน้อยด้านบนของรองเท้าควรทำจากหนังสัตว์ หรือ วัสดุประเภท Polymeric เพื่อป้องกันเท้ากรณีเกิดการหก กระเซ็นของสารเคมี ทั้งนี้ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ รองเท้าผ้า หรือรองเท้าส้นสูงในห้องปฏิบัติการ
4. ถุงมือ
ถุงมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการแบ่งได้เป็นหลายประเภท การจะเลือกใช้ถุงมือประเภทใด ขึ้นอยู่กับชนิด และประเภทของสารเคมีที่จะต้องปฏิบัติงานด้วย ก่อนปฏิบัติงานควรเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อม ไม่ควรแตะต้องสิ่งของอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นขณะสวมถุงมือ ไม่ควรใช้ถุงมือซ้ำและควรแยกทิ้งถุงมือในถุงขยะติดเชื้อ
5. อุปกรณ์ช่วยหายใจ และหน้ากากป้องกันไอระเหย (Respirator and face mask)
อุปกรณ์ช่วยหายใจ และหน้ากากป้องกันไอระเหย เป็นอุปกรณ์ใช้เมื่อต้องปฏิบัติงานกับสารเคมี ที่มีไอ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น สารละลายแอมโมเนีย สารละลายฟอร์มาลิน เป็นต้น
ข้อปฏิบัติทั่วไปสำหรับทุกห้องปฏิบัติการ
1. ห้ามรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม สูบบุหรี่ และแต่งหน้าในห้องปฏิบัติการ
2. ห้ามเก็บอาหาร และเครื่องดื่มส่วนตัวในตู้เย็นที่ใช้เก็บตัวอย่าง เก็บสารเคมี และเชื้อจุลินทรีย์ของห้องปฏิบัติการ
3. ห้ามสวมรองเท้าเปิดหัว (open-toed shoes) รองเท้าแตะ (sandals) หรือรองเท้าส้นสูง (high heeled shoes)
4. ห้ามสวมเครื่องประดับรุงรัง
5. ห้ามสวมเครื่องแต่งกายที่รุ่มร่าม
6. ห้ามปล่อยผมยาว โดยไม่รวบผมให้รัดกุม
7. ห้ามสวมเสื้อคลุมปฏิบัติการหรือห้ามสวมถุงมือเมื่อออกจากเขตห้องปฏิบัติการ
8. ห้ามใส่คอนแทคเลนส์ (contact lens) ระหว่างปฏิบัติงาน เว้นแต่จำเป็นต้องใช้ จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
9. ห้ามใช้ปากดูดปิเปตในการดูดสารละลายทุกชนิด ให้ใช้ลูกยาง
10. ห้ามเล่นหรือห้ามหยอกล้อกันในขณะปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
11. การเตรียมสารเคมีพวกกรด ด่าง หรือสารระเหยควรทำในตู้ดูดควัน
12. ให้เทกรดลงน้ำ ห้ามเทน้ำลงกรด
13. ไม่ใช้จุกแก้วกับขวดบรรจุสารละลายด่าง เพราะจุกจะติดกับขวดจนเปิดไม่ได้
14. ไม่ใช้จุกยางกับขวดบรรจุตัวทำละลายอินทรีย์ เช่นแอลกอฮอล์ อะซีโตน
15. ห้ามใช้เปลวไฟในการให้ความร้อนแก่ของเหลวไวไฟหรือในขบวนการกลั่น
16. ให้ความระมัดระวังในการจุดไฟในห้องปฏิบัติการ ดับไฟทันทีเมื่อเลิกใช้งาน ไม่ควรปล่อยให้ไฟติดทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู
17. ก่อนที่จะทำการจุดไฟ ควรย้ายวัสดุไวไฟออกจากบริเวณดังกล่าวก่อน นอกจากนี้ควรแน่ใจว่าได้ปิดภาชนะที่บรรจุของเหลวไวไฟอย่างดีแล้ว
18. ควรเก็บสารเคมีไวไฟในตู้สำหรับเก็บสารเคมีไวไฟโดยเฉพาะ
19. ควรแยกเครื่องแก้วแตก ในภาชนะรองรับที่แยกต่างหากจากของเสียอื่นๆ
20. ไม่ควรเก็บสารเคมีในบริเวณทางเดิน บันได หรือวางบนพื้น ควรเก็บในพื้นที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะ
21. ภาชนะบรรจุสารเคมีทุกขวด ควรมีป้ายฉลากที่ชัดเจน
22. เมื่อสิ้นสุดภารกิจในแต่ละวันควรเก็บขวดสารเคมี กลับเข้าที่
23. ของเสียที่เป็นสารเคมีควรแยกเก็บ พร้อมติดป้ายฉลากระบุชนิดของสารเคมีให้ชัดเจน
24. หลีกเลี่ยงการสูดดมไอระเหยของสารเคมี ห้ามทดสอบชนิดของสารเคมีโดยการดมกลิ่นโดยตรงอย่างเด็ดขาด
25. กรณีที่เลือกใช้สารเคมีได้ ควรเลือกใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษน้อยที่สุด ในปริมาณที่น้อยที่สุดเท่าที่พึงกระทำได้
26. อ่านคู่มือและเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เมื่อต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารมะเร็ง
27. หากผิวหนังสัมผัสกับสารเคมี ต้องล้างออกด้วยน้ำประปา หรือน้ำสะอาดทันที ควรล้างอย่างน้อย 15 นาที
28. เมื่อเลิกปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการแล้ว ควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด
29. ห้ามใช้เครื่องไมโครเวฟในห้องปฏิบัติการเพื่อเตรียมกาแฟหรืออาหาร
30. เมื่อมีผู้มาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ จะต้องให้ผู้ขอเข้าห้องปฏิบัติการ ใส่เสื้อคลุมปฏิบัติการ แว่นตานิรภัย และรองเท้าตามความเหมาะสม
ประเภทของสารเคมีอันตราย
1. สารไวไฟ เป็นของแข็ง หรือของเหลวที่ให้ไอระเหยออกมาเมื่อผสมกับอากาศจนมีความเข้มข้นพอเหมาะที่จะเกิดการลุกติดไฟได้เอง หรือลุกติดไฟเมื่อถูกจุด หรือกระทบประกายไฟ อาจจะไม่ไหม้ต่อเนื่องหรืออาจจะลุกไหม้ต่อเนื่อง
จุดวาบไฟ (Flash point) คือ อุณหภูมิต่ำสุดที่สารจะให้ไอระเหยออกมาได้มากพอที่จะลุกติดไฟได้เมื่อถูกจุด แต่ที่อุณหภูมิของจุดวาบไฟนี้สารจะไม่ลุกไหม้ต่อเนื่อง
จุดไหม้ไฟ (Fire point) คือ อุณหภูมิที่สูงพอของสารที่จะให้ไอระเหยออกมาอย่างต่อเนื่องจนเกิดการลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง จะมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดวาบไฟประมาณ 10-20 oC
จุดลุกติดไฟ คือ อุณหภูมิที่สูงขึ้นจนสารสามารถลุกติดไฟได้เองโดยไม่ต้องมีการจุด
2. สารระเบิดได้ เป็นสารไวไฟที่ลุกไหม้ หรือก๊าซที่ถูกความร้อน ผงหรือฝุ่นของสารบางชนิดผสมกับอากาศแล้วเกิดการระเบิดได้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการระเบิด คือ ความร้อน การเสียดสี แรงกระแทก หรือความดันสูงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การระเบิดไม่จำเป็นต้องเกิดปฏิกิริยาเคมี
3. สารที่ไวต่อปฏิกิริยา เป็นสารเคมีที่เมื่อผสมกับสารเคมีชนิดอื่นจะเกิดอันตราย แต่ถ้าเก็บแยกในภาชนะบรรจุที่เหมาะสมไม่มีอันตราย อันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องมาจากการทำปฏิกิริยากันเกิดความร้อนสูงจนลุกไหม้ หรือระเบิด หรือให้สารไวไฟ หรือให้ก๊าซพิษออกมา และรวมถึงสารเคมีที่เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำหรือออกซิเจนได้ง่าย เช่น น้ำกับ CaO รายการกลุ่มที่เข้ากันไม่ได้แสดงในตารางที่ 1
4. สารกัดกร่อน เป็นสารเคมีที่มีความสามารถในการทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของร่างกายเมื่อสัมผัสโดยตรง สูดดมไอของสารปริมาณมาก หรือรับประทานเข้าไป ได้แก่ กรด ด่าง ชนิดต่างๆ
5. สารเป็นพิษและก๊าซพิษ สารเคมีทุกชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย สารเป็นพิษ คือสารเคมีที่ร่างกายได้รับในปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดอันตราย หรือสารเคมีที่ไอระเหยของสารเป็นพิษ เช่น เบนซิน เมทานอล ซึ่งเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ที่ไวไฟ ระเหยง่ายโดยเฉพาะสภาพอากาศร้อนอย่างเช่นในประเทศไทย ความรุนแรงของพิษจะแตกต่างกันขึ้นกับปริมาณสารเคมีที่ร่ายกายได้รับ เป็นมิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) อัตราการดูดซึมสารเคมีของร่างกาย อัตราการขับถ่าย คุณสมบัติของสารเคมี และการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคล ส่วนก๊าซพิษ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า การได้รับก๊าซเหล่านี้เข้าไปในปริมาณมากทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน อาจทำให้เสียชีวิตได้ หรือผงฝุ่น หรือไอของโลหะหนัก เช่น Cd, Si, Pb, Hg
6. สารออกซิไดซ์ เป็นสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้วกระตุ้นให้เกิดการเผาไหม้ได้ เช่น คลอเรท ไนเตรท เปอร์แมงกาเนต เปอร์ออกไซด์
7. สารอันตรายต่อสุขภาพ เป็นสารเคมีที่ระคายผิวหรือลักษณะเป็นผงฝุ่น สารระคายผิวเป็นสารเคมีที่ทำให้ผิวหนังอักเสบเมื่อสัมผัสบ่อยหรือเป็นเวลานาน เช่น acetone, ether, ester, permanganate ส่วนผงฝุ่นจะเป็นอนุภาคขนาดเล็ก 0.5-150 ไมครอน เข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดมหรือสัมผัสกับผิวหนัง เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมซัลเฟต asbestos หรือสารก่อมะเร็ง เช่น benzidine, chloroform
การเก็บรักษาและการเคลื่อนย้ายสารเคมี มีแนวทางดังนี้
- จัดเก็บสารเคมีที่เป็นของแข็งแยกจากสารเคมีที่เป็นของเหลว
- จัดเก็บสารเคมีในสภาวะตามที่ฉลากระบุ เช่น ที่อุณหภูมิห้อง ในตู้เย็น 4 oC หรือตู้แช่แข็ง -20 oC หรือตู้ควบคุมความชื้น ของเหลวไวไฟจัดเก็บในตู้เฉพาะที่มีระบบป้องกันการระเบิด
- จัดทำรายการสารเคมีทั้งหมด และรวบรวมข้อมูลความปลอดภัย (MSDS) ของสารเคมีทุกชนิดที่มี รวมทั้งจัดทำบัญชีรับ-จ่ายสารเคมี
- ชั้นวางสารเคมีต้องแข็งแรง และทนทานต่อสารเคมี ไม่อยู่ในบริเวณที่โดนแสงแดด หรืออยู่ใกล้ความร้อน
- ปริมาณสารเคมีที่เก็บไว้ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีน้อยที่สุด สารเคมีจำนวนมากต้องแยกเก็บในห้องต่างหากที่มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี
- การเก็บสารเคมีอันตราย ต้องเก็บที่ความสูงไม่เกินไหล่ของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่มีความสูงน้อยที่สุด
- ควรตรวจสอบสารเคมีที่จัดเก็บเป็นประจำ เพื่อแยกสารเคมีที่เสื่อมสภาพออก เช่น เกิดตะกอน เยิ้มเหลว สีเปลี่ยน ภาชนะรั่ว
- การเคลื่อนย้ายสารเคมีที่มีภาชนะแตกง่ายในระยะใกล้ ต้องประคองที่ด้านล่างของภาชนะ
- การเคลื่อนย้ายสารเคมีในระยะไกล หรือจำนวนมาก ต้องใช้รถเข็น หรือมีภาชนะรองรับเพื่อป้องกันการกระจายของสารเคมีถ้ามีการแตกหรือหก
3. ฉลากและสัญลักษณ์แสดงระดับอันตราย
ฉลากสารเคมี
สารเคมีที่ซื้อจากแหล่งผลิตจะมีข้อมูลระบุไว้บนฉลาก ข้อมูลเหล่านี้ได้แก่ ชื่อสารเคมี (chemical name) สูตรโมเลกุลของสารเคมี (formular) น้ำหนักโมเลกุล (formular weight) เกรดหรือความบริสุทธิ์ของสารเคมี คุณลักษณะเฉพาะของสารเคมี เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว จุดวาบไฟ ส่วนประกอบทางเคมี ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย สัญลักษณ์แสดงระดับอันตราย อันตรายที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย รหัสบอกรุ่นที่ผลิต ขนาดบรรจุ การเก็บรักษา วันหมดอายุ การใช้งานสารเคมีอย่างปลอดภัย
ชื่อสารเคมีและ CAS No.
- สัญลักษณ์หรือข้อความบ่งชี้ประเภทอันตรายของสาร โดยดูจากฉลากเดิม
- วันที่แบ่งถ่าย / วันที่หมดอายุ
- ข้อมูลเตือนให้ระมัดระวังการใช้ เพื่อลดอันตรายและป้องกันอุบัติเหตุ (ถ้ามี)
ในกรณีที่เตรียมเป็นสารละลาย (reagent solutions) ต้องระบุรายละเอียดบนฉลากดังนี้
- ชื่อสารเคมีและความเข้มข้น
- สัญลักษณ์หรือข้อความบ่งชี้ประเภทอันตรายของสาร โดยดูจากฉลากเดิม
- วันที่เตรียม / วันที่หมดอายุ
- Reference no. (อ้างถึงบันทึกการเตรียมสารละลาย / ผู้เตรียม)
- ข้อมูลเตือนให้ระมัดระวังการใช้ เพื่อลดอันตรายและป้องกันอุบัติเหตุ
ระบบ UN
องค์การสหประชาชาติ (United Nation) แบ่งวัตถุอันตรายเป็น 9 ประเภท โดยใช้สัญลักษณ์อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเอาด้านมุมลง
ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด (Explosive)
ประเภทที่ 2 ก๊าซ (Gas)
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquid)
ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solid) วัตถุที่ลุกไหม้ได้เอง วัตถุที่ถูกน้ำแล้ว เกิดก๊าซไวไฟ
ประเภทที่ 5 วัตถุออกซิไดซ์ (Oxidizer) วัตถุออร์แกนนิกเปอร์ออกไซด์
ประเภทที่ 6 วัตถุมีพิษ วัตถุติดเชื้อ
ประเภทที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี (Radioactive)
ประเภทที่ 8 วัตถุกัดกร่อน (Corrosives
ประเภทที่ 9 วัตถุอื่นๆที่เป็นอันตราย (Miscellaneous Dangerous Goods)
การแก้ปัญหาอุบัติภัยที่เกิดจากสารเคมี
การเตรียมการกรณีสารเคมีหกหล่น
การหกหล่นของสารเคมีเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ แต่ห้องปฏิบัติการต้องเตรียมการสำหรับการแก้ไขหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น ทังนี้เพื่อลดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่และความเสียหายของทรัพย์สิน การเตรียมการควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
- สถานที่ที่มีโอกาสเกิดเหตุการณ์ได้ เช่น ห้องเก็บสารเคมี ตู้ดูดควัน พื้นห้อง โต๊ะปฏิบัติการ
- ปริมาณสารเคมีที่อาจเกิดการหกหล่น หรือการรั่วของก๊าซชนิดต่างๆ
- ข้อมูลทางกายภาพ ทางเคมี และข้อมูลความเป็นอันตราย เช่น ลักษณะทั่วไป ความดันไอ ปฏิกิริยากับน้ำและอากาศ การกัดกร่อน ความไวไฟ ความเป็นพิษ
การเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดการสารเคมีที่หก
- วัสดุดูดซับ เช่น ทรายแห้ง ขี้เลื่อย กระดาษซับแผ่นใหญ่ ฟองน้ำ
- อุปกรณ์ตัก กวาด รองรับสารที่หกหล่น เช่น แปรงขนแข็ง ถาดพลาสติก
- สารเคมีสำหรับการสะเทิน เช่น sodium carbonate, sodium bisulfate ซึ่งต้องดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น และเตรียมวิธีการทำลายสารเคมีและวัสดุดูดซับที่ใช้แล้ว
- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับชนิดของสารเคมี
- วัสดุที่ดูดซับสารเคมีที่ระเหยง่าย นำไปไว้ในตู้ดูดควันให้สารเคมีระเหยไปก่อน แต่ต้องระวังการเกิดประกายไฟ
- เมื่อกำจัดสารเคมีที่หกแล้ว ทำความสะอาดพื้นที่ให้สะอาด โดยใช้ไม้ถูพื้นด้ามยาว
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ที่ห้องปฏิบัติการ ควรมี เข่น
- ชุดยาปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประกอบด้วย น้ำยาล้างแผล ยาใส่แผลสด ยาแก้ปวด ยาทาบรรเทาอาการจากแผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก
- อุปกรณ์การปฐมพยาบาล เช่น ผ้าพันแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว กรรไกร สำลี เข็มกลัด แก้วล้างตา พลาสเตอร์ ผ้ายืด เป็นต้น
- คู่มือการใช้ยาชนิดต่างๆ
ข้อควรปฏิบัติสำหรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับตัวเอง
1. ตั้งสติให้ได้อย่าตกใจ
2. ขอความช่วยเหลือ
หากเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ควรดำเนินการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
1 การดูแลบาดแผลจากของมีคม แผลเข็มทิ่มตำ
- พยายามกำจัดสิ่งสกปรกแปลกปลอมที่แผลออกให้หมด กระตุ้นให้เลือดไหลจากแผล ล้างแผล หรือรอยถลอก ให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่ทันที
- การรักษาแผลให้สะอาดเป็นหลักการเบื้องต้นของการดูแลแผลทุกชนิด
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้ แอลกอฮอล์ , ไฮโดรเยนเปอร์ออกไซด์ ชะแผล
เนื่องจากทำให้การสมานแผลช้าลง ยาล้างแผล ใส่แผล ที่ดีต้องไม่แสบ ไม่ระคายเคือง
ดังนั้นที่ดีที่สุด คือ น้ำเกลือ 0.9% อันที่จริง การดูแลแผลที่ดีที่สุด
ไม่จำเป็นต้องใส่ยาใดๆเลย เพียงแค่ล้างให้สะอาดเท่านั้นก็เพียงพอ
- ถ้าแผลมีขนาดใหญ่ ปริแยกมาก ควรพบแพทย์เพื่อเย็บแผล
มิฉะนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์ ถ้าเป็นแผลที่ลึก
แต่ปากแผลเล็ก เพราะติดเชื้อได้ง่ายกว่าแผลทั่วไป
( ถ้าแผลมีลักษณะแดง บวม ปวดมากกว่าปกติ มีหนอง หมายถึงแผลติดเชื้อ (
การปฐมพยาบาล และรักษา
1. ฉีกหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวกออก หากเป็นเสื้อผ้าที่ไหม้ไฟและดับแล้ว ถ้าติดที่แผล ไม่ต้องดึงออก
2. ถอดเครื่องประดับที่รัดอยู่ เช่น แหวน กำไล นาฬิกา หรือเครื่องประดับอื่นๆ รวมถึง เข็มขัด รองเท้า มิฉะนั้นอาจเอาไม่ออก เนื่องจากการบวม และอาจทำร้ายเนื้อเยื่อได้ หากเป็นวัตถุที่อมความร้อน
3. ทำให้บริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกเย็นลงโดยเร็วที่สุด (ทำอย่างน้อย 10 นาที )
4. โดยราดด้วยน้ำเย็นโดยทันที ห้ามใช้ น้ำแข็ง เนื่องจากอาจทำให้เกิดความชอกช้ำ บาดเจ็บมากขึ้น
5. ถ้าผิวหนังแสบ ร้อน แดง ปวด หรืออาจเกิดพุพองขึ้นบ้างให้ใช้เจลว่านหางจระเข้ หรือ ยาฆ่าเชื้ออื่นๆที่เหมาะสม ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดหนังส่วนที่พองออก
6. ถ้าเป็นมากกว่านั้น หรือเป็นบริเวณสำคัญ ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากต้องการการรักษา และใช้ยาฆ่าเชื้อที่ดีกว่าทั่วไป
7. ไปรับการฉีดวัคซีนกันบาดทะยัก เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ถ้าท่านไม่ได้รับวัคซีนนี้ในช่วง 5 ปีมาก่อน
3 บาดแผลจากกระแสไฟฟ้าช็อต
อาจทำให้เกิดแผลไหม้ เนื้อเยื่อที่ลึกจากผิวหนังอาจจะได้รับผลกระทบด้วย แต่จะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน จึงจะแสดงอาการออกมา ผู้ป่วยที่ถูกไฟฟ้าดูดติดอยู่กับบริเวณที่สัมผัสจะทำให้เกิดการไหม้ที่รุนแรง
Ä ให้รีบดึงปลั๊ก หรือสวิตซืไฟ ถ้าไม่สามารถปิดสวิทช์ไฟได้ ห้ามใช้มือจับต้องคนที่กำลังถูกไฟช็อต แล้วให้นำสิ่งที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้กวาด เก้าอี้ไม้ เขี่ยให้ออกจากสายไฟ หรือเขี่ยสายไฟออกจากตัวผู้บาดเจ็บ
Ä เมื่อผู้ป่วยหลุดออกมาแล้ว รีบปฐมพยาบาล ถ้าหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจ ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ ให้นวดหัวใจด้วย แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลด้วย
4.1 สารเคมีเข้าตา
· อย่าขยี้ตา
· รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก เอียงศีรษะให้ตาที่ได้รับอันตรายเอียงลงข้างล่าง และให้น้ำไหลจากหัวตาไปทางหางตา เปิดตาทั้งสองข้างไว้ด้วยมือ จนสารเคมีถูกชะล้างออกหมด
· ปิดตาด้วยผ้าสะอาด เช่น ผ้าเช็ดหน้า พับปิดตาข้างที่บาดเจ็บ แล้วใช้ผ้าพันทับอีกครั้ง อย่ากดหรือใช้แรงบนลูกตา การปิดตาทั้งสองข้างเป็นการป้องกันการเคลื่อนไหวของตาอีกข้างที่ปกติ อย่าขยับลูกตาไปมา และไปพบแพทย์
4.2 สารเคมีหกรด
· นำผู้ป่วยออกจากบริเวณนั้น และนำเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีออก
· ถ้ามีการปนเปื้อนที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อขจัดสารเคมีนั้นออก
· กำจัดสารนั้นจากร่างกาย หรือแก้พิษของสารตามคู่มือห้องปฏิบัติการ
5. แก๊สรั่ว
· นำผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์
· ควรปลดเสื้อผ้าที่บริเวณคอ และเอวให้หลวม และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
· ถ้าผู้ป่วยได้รับแก๊สพิษควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
6. ลมบ้าหมู ลมชัก
· อยู่ในความสงบ ใจเย็น เนื่องจากอาการชักจะต้องเป็นไป และจะหยุดเองเมื่อถึงเวลา
· ช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นจากการชัก เช่น ล้มหัวฟาดพื้น เป็นต้น หาหมอน หรือสิ่งที่นิ่มๆ มาหนุนหัว คลายกระดุม เข็มขัด ให้หลวม สบายตัว โดยเฉพาะบริเวณ คอ
· ห้ามใช้อะไรงัดปากเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดบาดแผลในช่องปาก คนที่ชักจะไม่กลืนลิ้นตัวเองระหว่างการชัก ซึ่งผิดจากความเชื่อเก่าที่เคยทำกันมา
· ให้คนไข้นอนตะแคง เพื่อไม่ให้น้ำลายไหลลงไปจุกในคอ ไม่ต้องตกใจถ้าคนไข้อาจหยุดหายใจเป็นครั้งคราว
· นำส่งแพทย์ทันทีถ้าคนไข้ชักนานเกิน 5 นาที หรือมีการชักครั้งที่ 2 ตามมา
· เมื่อคนไข้ฟื้นขึ้นมา ให้ปลอบประโลมให้คนไข้รู้สึกสบายใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น